รายงานผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ รายงานผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ

คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ภายใต้ค่านิยม (Q-C-I-S-T) ที่กำหนดไว้ คือ คุณภาพงานมีมาตรฐานสูง (Quality of Services) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณในอาชีพ (Integrity) ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ (Social and Environmental Responsibilities) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork) เพื่อเป็นการประมวลแบบแผน กำหนดขอบเขต มาตรฐาน ความประพฤติ และพฤติกรรมที่บุคลากรทุกคนของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนทุกระดับในทุกหน่วยงาน พึงกระทำในการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติงาน และเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้กรอบจริยธรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความเสมอภาค เท่าเทียมกัน อันเป็นการสร้างรากฐานและรักษาภาพพจน์ของบริษัท ให้เป็นองค์กรที่มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผู้บริหารและพนักงานจะประเมินการปฏิบัติตามจรรยาบรรณบริษัทอย่างต่อเนื่องทุกปี

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสื่อสารและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทางฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ได้จัดทำจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อมอบให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานและจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทตลอดมาทุกคนและในปี 2564 ได้มีการจัดอบรมขึ้นจำนวน 14 ครั้ง โดยเป็นการฝึกอบรมให้กับพนักงานใหม่จำนวน 28 คน

นอกจากนี้ ได้จัดให้ผู้บริหารและพนักงานทำการประเมินการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทของตนเอง โดยในปี 2564 มีผู้บริหาร (ตั้งแต่ระดับผู้จัดการส่วน ถึง ประธานกรรมการบริหาร) ที่ทำการประเมินจำนวน 124 คน ส่งผลการประเมินกลับคืนให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก สำหรับพนักงาน (ตั้งแต่ระดับผู้จัดการแผนก ถึง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ) ที่ทำการประเมินจำนวน 1,361 คน ส่งผลการประเมินกลับคืนให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำนวน 1,269 คน คิดเป็นร้อยละ 93.24 ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

สำหรับสรุปผลการประเมินโดยรวมนั้นผู้บริหารและพนักงานได้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ดังนี้

  1. 1.การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ : เข้าใจและยึดถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณบริษัท
  2. 2.แนวทางในการประกอบธุรกิจ : ปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้กับบริษัทและธุรกิจการค้าอย่างเคร่งครัดตาม หลักจริยธรรมที่พึงปฏิบัติและปฏิบัติตามนโยบายบริษัท
  3. 3.ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ : ไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น หลีกเลี่ยง การกระทำที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของบริษัท ไม่เข้าไปมี ส่วนร่วมหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการใดๆ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์หรือขัดแย้งทางธุรกิจต่อบริษัท
  4. 4.การใช้ข้อมูลภายในเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ : ไม่เปิดเผยข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะอันส่ง ผลกระทบต่อราคาหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทและบริษัทที่เกี่ยวข้อง
  5. 5.หน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น : ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรมีศักยภาพ รองรับการขยายตัว และต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว
  6. 6.ความรับผิดชอบต่อผู้บริหารและพนักงาน : มีการกำหนดแนวและวิธีปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินอยู่เสมอ
  7. 7.หน้าที่ต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม : ให้ความร่วมมือในการทำประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามโอกาสและความพร้อม
  8. 8.การเปิดเผยข้อมูลและการรักษาความลับ : ปฏิบัติตามนโยบายในการจัดการข้อมูลในบริษัทอย่างมี ประสิทธิภาพ และเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้องเหมาะสมต่อสังคมตามแต่โอกาส และไม่เปิดเผย ข้อมูลของบริษัทที่ยังมิได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือนำข้อมูลที่ได้รับจากหน้าที่ การงาน ไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตน
  9. 9.ทรัพย์สินของบริษัท : กำหนดแนวปฏิบัติในการดูแลรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบริษัทมิให้สูญหาย เสียหาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด
  10. 10.ของกำนัลและการเลี้ยงรับรอง : กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องการให้ของกำนัลและการเลี้ยงรับรอง โดยหลีกเลี่ยง การรับสิ่งของหรือผลประโยชน์ใดๆ จากคู่ค้า คู่สัญญา หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท เว้นแต่ ในเทศกาลหรือประเพณีนิยมโดยพึงพิจารณาว่าอยู่ในมูลค่าที่เหมาะสม

นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ โดยได้กำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตและห้ามจ่ายสินบนเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท หรือการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลที่มีหน้าที่หรือธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดแนวปฏิบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทุจริต และความไม่เป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ซึ่งบุคลากรทุกระดับ รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใด ซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของบริษัทไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม ต้องยึดถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ บริษัทถือว่าการกระทำอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่นั้นถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งบุคลากรจะต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับในการปฏิบัติงานและตามที่กฎหมายกำหนด

อย่างไรก็ตาม จากการที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัตินโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริตต่อหน้าที่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทได้รับทราบเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน และจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของบริษัท อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียในทรัพย์สินและชื่อเสียงของบริษัท ทั้งจากพนักงานภายในและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งบริษัทสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตให้สินบน และพนักงาน หรือผู้มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจจะไม่ถูกกลั่นแกล้งอันเนื่องมาจากการรายงานข้อมูลโดยสุจริต ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  1. 1.ให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ที่พบเห็นการกระทำผิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท สามารถติดต่อแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน หรือฝ่ายบุคคล หรือผู้บังคับบัญชา หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่
  2. 2.การแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ให้ระบุ ชื่อ-สกุล และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ร้องเรียน รายละเอียดข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน พร้อมทั้งแนบหลักฐานต่างๆ (ถ้ามี) ทั้งนี้ บริษัทจะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนเป็นความลับ กรณีผู้ร้องเรียนไม่เปิดเผย ชื่อ-สกุล ในการร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง หรือหลักฐานที่ปรากฏชัดแจ้งเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำทุจริต
  3. 3.การแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ให้กระทำผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียนที่จัดไว้ ดังนี้
    1. 3.1 จดหมายส่งที่ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เลขที่ 587 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    2. 3.2 แจ้งผ่านช่องทางอีเมลของผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไปที่ ck.whistleblowing@gmail.com
    3. 3.3 กล่องรับเรื่องร้องเรียนภายในบริษัท

สำหรับแนวทางหรือกระบวนการพิจารณาตามนโยบายการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน เมื่อได้รับเรื่องที่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม แจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียนว่าอาจมีการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ กำหนดให้มีกระบวนการดำเนินการพิจารณา ดังนี้

  1. 1.ผู้รับข้อร้องเรียนรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม
  2. 2.ผู้รับข้อร้องเรียนรายงานข้อเท็จจริงต่อกรรมการอิสระ โดยต้องปฏิบัติหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณา การร้องเรียนให้แล้วสร็จภายใน 30 วัน โดยแยกแยะเรื่องที่เกี่ยวข้องออกเป็นประเด็น ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นต้น
  3. 3.ผู้รับข้อร้องเรียนนำเสนอกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง และกำหนดมาตรการดำเนินการเพื่อระงับ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
  4. 4.พิจารณากระบวนการลงโทษทางวินัยกับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ตามที่บริษัทเห็นสมควร รวมทั้งพิจารณาการดำเนินการบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
  5. 5.ผู้รับข้อร้องเรียนจะต้องมีการรายงานผลโดยมีหน้าที่แจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบ หากผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเอง ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ ให้รายงานผลต่อประธานกรรมการบริษัท และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท ทราบ

นอกจากนี้ บริษัทได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน โดยมีแนวทางดังนี้

  1. 1.ผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรือเกิดความเสียหายใดๆ แต่หากมีการเปิดเผยตนเองก็จะทำให้องค์กรสามารถรายงานความคืบหน้าและชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  2. 2.ผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง บริษัทจะไม่เปิดเผยชื่อ-สกุล ที่อยู่ ภาพ หรือข้อมูลอื่นใดที่สามารถระบุตัวผู้แจ้งได้ ยกเว้นแต่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
  3. 3.ผู้รับข้อร้องเรียน จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับ/คำนึงถึงความปลอดภัย โดยได้กำหนดมาตรการคุ้มครองพนักงานที่ร้องเรียน และ/หรือผู้ที่ให้ข้อมูล และ/หรือความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล โดยจะได้รับความคุ้มครองจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง อันเนื่องมาจากสาเหตุแห่งการร้องเรียน
  4. 4.กรณีที่ผู้ร้องเรียนแจ้งเบาะแสการประพฤติผิดหรือข้อร้องเรียนและผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัยหรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้แจ้งเบาะแสการประพฤติผิดหรือข้อร้องเรียน และผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครอง โดยผู้แจ้งเบาะแสการประพฤติผิดหรือข้อร้องเรียนและผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือความไม่ปลอดภัย
  5. 5.ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม

ทั้งนี้ หากได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริต ต่อหน้าที่แล้ว หากปรากฏว่ามีการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท แนวทางนโยบายต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชั่น และระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับการลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานที่บริษัทกำหนดไว้ และต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัท หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว และอาจได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ดี ในปี 2564 ไม่ปรากฏและไม่มีข้อร้องเรียนใดๆ ว่าบุคลากรของบริษัทมีการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่น มีการให้หรือรับสินบน หรือการปฏิบัติที่ต่อต้านการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม และมีการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงาน

ดาวน์โหลดเอกสาร close